ชนเผ่าอินเดียนแดง Abenaki

262-01

ชนเผ่าพื้นเมืองทางเหนือที่แตกสาขาออกมาจาก อัลกอนเควียน ซึ่งใช้ภาษา อัลกอนเควียน-วาคาชาน ชือแอบนากิ เป็นชื่อที่ถูกเรียกโดยพวกฝรั่งเศส แต่ก็อาจเรียกว่า วาบานากิ คำที่หมายถึง ยามเช้าของตะวันออก ซึ่งเป็นความเชื่อของผู้มีชีวิตภายใต้ดวงอาทิตย์ ชาวแอบนากิยังสืบสายกันมาและมีอยู่ในรัฐ เมน, นิวแฮมเชียร์ และเวอร์มอนต์ ตำนานของชนเผ่าบอกว่าพวกเขามาจากทางใต้ฝั่นตะวันตก ไม่สามารถทราบเวลาที่แน่นอนได้ แต่ประมาณช่วงสงครามนองเลือดกับพวกล่าอาณานิคมชาวอังกฤษ เมื่อถอยร่นเข้าไปถึง แคนาดา พวกเขาได้รับการคุ้มครองจาก กองทัพฝรั่งเศส ชาวแบนากิจึงสร้างชุมชนขึ้น ซึ่งชุมชนของพวกเขาล้อมรอบด้วยรั้วไม้ มีการปลูกข้าวโพด ตกปลาและล่าสัตว์เพื่อยังชีพ แอบนากิ เป็นเจ้าของคำเรียกกระโจมทรงกรวยที่คลุมด้วยหนังหรือเสื่อว่า วิกแวม ซึ่งกลายเป็นคำที่ใช้ทั่วไปในภาษาอังกฤษ

ชนเผ่า อาบีนากิ โดย ลี ซัลสแมน

ถิ่นที่อยู่
ยืดข้ามออกไปทั่วทางเหนือของ นิวอิงแลนด์ จนถึงทางใต้จรดชายฝั่งทะลเของ แคนาดา เผ่าอาบีนากิเรียกดินแดนของตนเองว่า ดาคินนา (Ndakinna) ซึ่งมีความหมายว่า “แผ่นดินของเรา” เผ่าอาบีนากิทางตะวันออก มุ่งไปที่รัฐ เมน ทางตะวันออกของแผ่นดินของเขาใน ไวท์ เมาเท่น นิวแฮมเชียร์ ในขณะที่ ชนเผ่าอาบีนากีทางตะวันตกอาศัยอยู่ในแถบภูเขาของ เวอร์มอนท์ และนิวแฮมเชียร์ จนถึงชายฝั่งของทะเลสาบ แชมเพลน เขตแดนทางใต้ของดินแดนชนเผ่าอาบีนากิ เคยอยู่ใกล้กับที่ปัจจุบันของชายแดนรัฐ แมตซาชูเซต ไม่รวม เพนนาคุก ตลอดลำน้ำของแม่น้ำ เมอริแมค ที่อยู่ทางใต้ของ นิวแฮมเชียร์ ชาวอาบีนากิทางชายฝั่งน้ำครอบครอง ที่ริมฝั่งน้ำเซนท์ครอกซ์ และ เซนท์จอห์น ใกล้ชายแดนรัฐเมน และ นิวบรันสวิก ข้อตกลงของสงครามทำให้ชาวเผ่าอาบีนากิจำนวนมากถอยร่นไปทางเหนือของ คิวเบค ที่ซึ่งมีสองชุมชนใหญ่ที่จัดตั้งเป็นเมือง เซนท์ฟรังซัวร์ และ บีแคนคัวร์ ใกล้ ทรอยส์-รีรีฟ และเป็นเช่นนี้จนถึงปัจจุบัน ยังมีชนเผ่าอีกในสามเขตสงวนทางตอนเหนือของรัฐเมน (พีนอบส์คอค,พาซซามาควอตดี้ และมาลิซี้ด) และในอีกเจ็ดเขตสงวนมาลิซี้ด ใน นิวบรันสวิก และ คิวเบค กลุ่มอื่นของชนเผ่าอาบีนากิที่ไม่ได้อยู่ในเขตสงวน กระจัดกระจายอยู่ทางตอนเหนือของ นิวแฮมเชียร์ และ เวอร์มอนต์
ประชากร
ก่อนจะมีการติดต่อกับ อาบีนากิ (ไม่รวม เพนนาคุกและมิคแมค) น่าจะมีมากกว่า 40,000 คน โดยแบ่งหยาบๆเป็น ทางตะวันออก 20,000 คน ทางตะวันตกและชายฝั่งน้ำทางใต้ แถบละ 10,000 คน ในการติดต่อกับชาวประมงชาวยุโรปในเวลาต่อมาได้เกิดโรคระบาดกับ 2 กลุ่มใหญ่ของชนเผ่าอาบีนากิ ในช่วง ค.ศ. 1500 และการเจ็บป่วยที่ไม่ทราบโรคอีกหลายครั้งระหว่าง ค.ศ. 1564 และ 1570 และไทฟอยด์ในปี 1586 มีการระบาดของโรคอีกตลอดทศวรรษก่อนมีการจัดตั้งเมือง แมตซาชูเซตของชาวอังกฤษในปี ค.ศ. 1620 และมีการระบาดลุกลามอย่างรวดเร็วอีกสามครั้งข้ามไปถึงนิวอิงแลนด์ และชายฝั่งแคนาดา ใน เมน มีการระบาดรุนแรงในปี ค.ศ. 1617 ทำให้ล้มตายไปถึง 75% และชนเผ่าอาบีนากิทางตะวันออก สูญเสียไปประมาณ 5,000 คน ทางตะวันตกที่อยู่ไกลๆออกไปก็น่าจะสูญเสียมากกว่าครึ่งนึงของจำนานประชากร ด้วยการเจ็บป่วยจากโรดระบาดใหม่ที่คนผิวขาวนำเข้ามาคือ ฝีดาษ, คอตีบ, ไข้หวัดใหญ่ และหัด

ประชากรของชนเผ่า อาบีนากิ ยังลดลงเรื่อยๆ แต่ในปี ค.ศ. 1676 พวกเขาได้รับผู้ลี้ภัยจากทางใต้ของนิวอิงแลนด์ ซึ่งถูกให้ย้ายถิ่นจากข้อตกลงและสงครามกับ กษัตริย์ ฟิลลิปส์ ผลพวงของมันทำให้ผู้สืบทอดมาจาก อัลกอนควิน ทางใต้อของ นิวอิงแลนด์ (เพพนาคุก, นารากันเซ็ท, โพคัมทัค, นิพมัค) ยังคงอยู่ ท่านกลาง อาบีนากิ โดยเฉพาะพวก โซโกกิ (อาบีนากิตะวันตก) หลังจากศตวรรษแห่งสงครามและโรคระบาด มีชนเผ่าบาบีนากิเหลือเพียง 1,000 คนหลังการปฏิวัติ ปัจจุบันประชากรเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 12,000 คน ทั้ง 2 ฝั่งของเขตแดน รัฐบาลอเมริกันไม่เคยบันทึกว่า อาบีนากิ เป็นเผ่า อย่างไรก็ตาม ยังมี 3 เผ่าใน เมน คือ พีน๊อบสคอท, พาสซามาคอดดี้ และ ฮูลตั้น ซึ่งเป็นกลุ่มของ มาลิซี๊ด พีน๊อบสคอท ได้รับการสงวนในเกาะอินเดียน ที่ โอลด์ทาวน์ รัฐเมน และมีสมาชิกของเผ่าเกือบ 2,000 คน พาสซามาคอดดี้ มีประมาณ 2,500 ในสามเขตสงวนของรัฐ เมน คือ พลีแซนด์ พอยท์, ปีเตอร์ดาน่า พอยท์ และ อินเดียน ทาวน์ชิพ ขณะที่พวกฮูลตั้นมีเพียงประมาณ 600 คนเท่านั้น ยังมีกลุ่มของ มาลิซี๊ดในแคนาดาอีก (470 ใน คิวเบค, 2,000 ในนิวบรันสวิค) ประมาณ 3,000 คน แคนาดามี ชาวบีแคนคัว (กลุ่มหนึ่งของชนเผ่า อาบีนากิ) ประมาณ 400 คน ในเขตสงวนใกล้แม่น้ำ ทรอยส์ ในคิวเบค และอีกประมาณ 1,500 คนที่ โอดานาค (เซ็นต์ฟรังซัว) 30 ไมล์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ที่เหลือกระจัดกระจายไปในท้องถิ่นของ คิวเบค นิวบรันสวิก และ นอร์ทเทิร์นนิวอิงแลนด์ ปัจจุบันมี ชาวอาบีนากิแห่ง เวอร์มอนต์ 2,500 คน ในเวอร์มอนต์และ นิวแฮมเชียร์ แต่มีศูนย์กลางที่ใกล้ทะเลสาบ แชมเพลน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวอร์มอนต์ ดูแลโดย กลุ่มโซโกกิ แห่ง เซนต์ฟรานซิส ของชนชาติอาบีนากิ สภาแห่งชนเผ่าขัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1976 ที่ สวอนตั้น, เวอร์มอนต์ และเป็นที่ยอมรับในปีถัดมา ใน ค.ศ. 1982 ถูกเสนอเป็นสหพันธรัฐและอยู่ในระหว่างพิจารณา

ชื่อ
อาบีนากิ เรียกตัวเองว่า อัลนันบาล ซึ่งหมายถึง คน ชื่อ อาบีนากิ ออกเสียงหลากหลายกันไป เช่น อาบีนาควี แอบนากิ อัลนันบาล บีนากิ อูบีนากิ วาบานากิ วิปปาแนป ซึ่งเพี้ยนมาจาก มอนแท๊กเนียส (อันกอนควิน) ซึ่งหมายความว่า “ผู้คนแห่งอรุณรุ่ง” หรือ “ชาวตะวันออก” มีการคาดว่า อัลกอนควินทางใต้ของ เซนท์ลอวเรนซ์ ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น มาฮิกัน ชาวฝรั่งเศสมักพูดถึงหรือเรียก อาบีนากิว่า ลูป (วูฟ) หรือคล้ายๆกัน ซึ่งมีคำเรียกเป็นทางการคือ นาทิโอ ลูโปเร็ม หรือ วูฟเนชั่น (ชนชาติหมาป่า) ชางฝรั่งเศสมักเรียก อาบีนากิทางตะวันตกว่า โซโกกิ ยืมชื่อ อัลกอนควิน มาจากทางใต้ของนิวอิงแลนด์ สำหรับ อาบีนากิ ชาวอังกฤษ เรียกในการพบกันครั้งแรกว่า ทาราทีน ซึ่งเรียกรวมทั้ง อาบีนากิและมิคแมค ต่อมา ทาราทีนเป็นคำที่หมายถึงมิคแมคและชนเผ่าอาบีนากิทางเหนือของ รัฐเมน โซโกกิ หรืออาบีนากิทางตะวันตก รู้จักกันในนิวอิงแลนด์ว่า อินเดียนแห่ง เซนท์ฟรานซิส ชื่อเรียกอื่นๆของอาบีนากิคือ อานากอนเกส (อิโรควิส) , อะควอนนาคิว(ฮูรอน) , บาชาบา, กันนอนกาเกรอนนอน(โมฮ๊อค), โมแอสโซเนส, มาวีชีนุค, นารานกามิคด๊อค, นัทซากานา(คอนาวากา), โอบูเนโก, โอนากันก้า, ออนโนกอนเกส, โอปานานโก,โอวีนากันเกส, และ แสกตวานิลอม (อิโรควิซ)

ภาษา
อาบีนากิ มีภาษาของชนเผ่าคือ อัลกอนควิน ซึ่งแตกต่างจากมิคแมคที่อยู่ทางเหนือของนิวอิงแลนด์ และอัลกอนควินทางใต้ เคยมีการโต้แย้งถึงความแตกต่างของภาษาของอาบีนากิทางตะวันออกและตะวันตกว่า ภาษาของพวกตะวันตกคล้ายกับ เพนนาคุก

กลุ่มของชนเผ่าอาบีนากิ
ยังมีการแบ่งกลุ่มไปอีกคือ อะมาซีคอนติ, แอนโดรสค๊อกกิ้น, เคนเนเบค, มาลิซี้ด, อูราสทีกูแอค, พาสซามาควอดดี้, พัทซุยเข่ท, พีน๊อบสก็อต, พิกวาเก็ต, โรคามีร่า, โซโกนี, และ วีวีน๊อก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสมาชิก ของกลุ่มชนเผ่าอาบีนากิ ส่วน มิคแมค และ เพนนาคุก ถูกบันทึกว่า เป็นเผ่าที่แยกออกไป

7 ชนชาติแห่ง แคนาดา
ตัวแทนคณะชนชาติของแคนาดา 7 ชนชาติ ถูกจัดตั้งขึ้นโดยชนเผ่าที่อาศัยตลอดแม่น้ำ ลอว์เร้นซ์ ในปี ค.ศ. 1750 ประกอบด้วย คอนาวากา(โมฮ็อค), ทะเลสาบแห่ง 2 เทื่อกเขา (อโรควิส และนิปปิสซิ่ง), เซนท์ฟรังซัวร์ (โซโกกิ, เพนนาคุก และอัลกอนควินแห่งนิวอิงแลนด์), บีแคนคัวร์(อาบีนากิตะวันออก) โอสวีกัทชี่ (โอนอนดาก้า และ โอนีด้า), ลอเร็ท(ฮูรอน) และ เซนท์ รีกิส(โมฮ็อค)

ชื่อเรียกอื่นๆของ ชุนชน อาบีนากิ
อควาดอ๊กต้า, คอบบอสซญีคอนตี, อีบีนีคุก, คีตังฮีนิกกี้, มาสโคม่า, ฒาสชีโรสเคว็ก, เมคาดาคัท, โมโชเคว็น, ฒัสคอนกัส, นีกัสเซท, โอซากรากี, อูวีรากี, พาชารานัค, พอฮันตานัค, พีมาควิด, โพโคพาสซั่ม, ซาบิโน, ซากาดาฮ๊อค, แซทควิน, ซีโกทาโก, โซโวคาทัก, ทาคอนเนท, ยูนีจาวารี, และ วาคูโก

วัฒนธรรม
กล่าวกันว่าชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกัน เป็นผู้ครอบครองดินแดนบริเวณ ทางเหนือของนิวอิงแลนด์มากว่า 10,000 ปีแล้ว แต่ไม่มีสิ่งยืนยันว่าชนโบราณนี้เป็นบรรพบุรุษของ อาบีนากิ แต่ก็ไม่มีเหตุผลอื่น อาบีนากิ มีรูปแบบของความเป็นอยู่คล้ายกับ อัลกอนควิน ในทางใต้ของ นิวอิงแลนด์ นับจากที่ชนเผ่าเริ่มทำการเพาะปลูก (ข้าวโพด, ถั่ว และน้ำเต้า) ก็มาตั้งถิ่นฐานกันในบริเวณลุ่มน้ำตามแนวฝั่งตะวันออกของทะเลสาบ แชมเพลน เท่าที่มีการสืบค้นคือมีการปลูกข้าวโพดมากกว่า 250 เอเคอร์ (1 เอเคอร์ = 2 1/2 ไร่) ซึ่งการเพาะปลูกเป็นอาหารเพิ่มเติมจากการล่าสัตว์ ตกปลา และหาอาหารจากป่า การหาอาหารจากปลาและอาหารทะเล ขึ้นอยู่กับถิ่นที่อยู่ ในบริเวณที่ดินไม่สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูก จะมีการใช้ซากปลาเป็นปุ๋ยบำรุงดินด้วย

หลายปีที่ อาบีนากิ ดำรงอยู่ในกลุ่มของครอบครัวที่แบ่งแยกกันออกไป ซึ่งบ้างก็แยกเพราะทางเชื้อสายของพ่อเป็นนักล่าสัตว์ ซึ่งต่างจาก อิโรควิส (ส่วนใหญ่เป็น อัลกอนควินใน นิวอิงแลนด์) อาบีนากิ ที่เป็นเชื้อสายทางพ่อ ในฤดูหนาวและฤดูร้อน กลุ่มจะรวมตัวกันใกล้แหล่งน้ำ อาทิ ริมแม่น้ำ ชายฝั่งทะเล เพื่อเพาะปลูกหรือหาปลา บางครั้งหมู่บ้านหรือชุมชนเหล่านี้จะสร้างแนวป้องการการโจมตีจากศัตรูด้วย เทียบกับ ชุมชนอิโรควิสแล้ว ชุมชน อาบีนากิส่วนใหญ่เป็นชุมชนเล็กๆ มีไม่เกิน 100 คน เว้นพวกทางตะวันตก อาบีนากิบางกลุ่ม ใช้บ้านที่อาศัยเป็นลักษณะวงรียาวๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทรงโดม หุ้มด้วยเปลือกไม้ หรือหนังสัตว์ ตลอดฤดูกาลที่อบอุ่น ในฤดูหนาว อาบีนากิ จะย้ายจากริมน้ำเข้าไป และแยกเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่อาศัยจะมีรูปทรงที่เป็นกระโจมอย่างเห็นได้ชัดเจน
อาบีนากิ เป็นชนที่มีภาษาและความรู้ทางภูมิศาสตร์ ก่อนที่จะมีการติดต่อกับชาติยุโรป เผ่าอื่นๆมีการปกครองชุนชนแบบธรรมดา เมื่อเกิดโอกาสที่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อจุดประสงค์ในการช่วยกับรบก็นำโดยหัวหน้าเผ่า อาบีนากิ มีการดูแลจากส่วนกลางของผู้อาวุโสของชนเผ่า มีการแบ่งระดับชั้น อำนาจของหัวหน้าเผ่าจะมีขอบเขต และในการตัดสินใจที่สำคัญอย่างเช่น การเลือกระหว่างจะรบหรือสงบศึก มักจะเป็นหัวหน้าในการประชุมของกลุ่มชนเผ่าวัยรุ่น การรวมกลุ่มของชนเผ่าอาบีนากิ ไม่ปรากฎเลยจนกระทั้ง ค.ศ. 1670 ที่รวมกันเพื่อทำสงครามกับ อิโรควิส และอังกฤษ เหตุการณ์นี้ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร และรายงานทางทหารของฝรั่งเศสได้มีบันทึกไว้ว่า ผู้นำของ อาบีนากิ ไม่สามารถควบคุมหรือสั่งการนักรบของตนได้ ในหลายๆทาง ผู้นำจากส่วนกลางก็ดูแลชนเผ่า อาบีนากิได้ดี ในขณะสงคราม ชาวอาบีนากิ ทิ้งถิ่นที่ตั้ง แยกอออกไปเป็นกลุ่มย่อย และไปรวมกันอีกครั้งในถิ่นปลอดภัยที่ห่างไกลจากศัตรู มันเป็นแผนการณ์ที่ทำให้ อิโรควิส และอังกฤษสับสนและยากจะเอาชนะได้ อาบีนากิ แค่เพียงสลายตัวไป แล้วรวมกันใหม่เพื่อเข้าโจมตี ซึ่งสร้างความฉงนที่ว่า อาบีนากิเป็นชนเผ่าเร่ร่อนหรือ จากที่อาบีนากิมักจะล่าถอยไปแคดานา ในช่วงสงคราม นิวอิงแลนด์เริ่มคิดว่าเป็นคนอินเดียนของแคนาดาหรือไม่ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ แต่เพียงเพื่อรักษาเขตแดนของตนใน รัฐเมน, นิวแฮมเชียร์และเวอร์มอนต์ โดยไม่มีการชดเชยใดๆ นอกจากพีน๊อบสก็อตและ พาสซามาคว๊อดดี้ ที่ลงนามในข้อตกลงและรักษาดินแดนของตนได้เพียงบางส่วน ที่อื่น อาบีนากิได้ยึดคืนมา แต่ก็ไม่มีการบันทึกจดจำ แม้จะไม่มีการ “ขี่ม้ากลับสู่ดินแดนตะวันพลบ” แต่ส่วนมากก็สาบสูญไปในเวลาหลายปีผ่านมา ชนเผ่าอาบีนากิ ยังดำรงอยู่ในดินแดนของตนโดย แบ่งกลุ่ม แยกเป็นกลุ่มย่อย ในนิวอิงแลนด์ มีอนุสรณ์ที่โรแมนติกมากมายที่แสดงถึงการเฉลิมฉลองการหายไปอย่างหลอกๆ ซึ่งพวกเขาไม่เคยหายไปจริงๆเลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>