ชนเผ่าอินเดียนแดง Sioux

Sitting-Bull_1885

ซิทติ้งบูล , เป็น ฮังค์ปาป้า หัวหน้าเผ่า ลาโกต้า, ผู้ติดต่อวิญญาณ ภาพเมื่อปี ค.ศ. 1885 Sitting Bull, a Hunkpapa Lakota chief and holy man, circa 1885.
จำนวนประชากร ประมาณ 150,000 คน
เขตที่อยู่อาศัย สหรัฐอเมริกา รัฐ เซ้าท์ ดาโกต้า
United States (SD, MN, NE, MT, ND)
ภาษา อังกฤษ, ซู
ศาสนา คริสเตียน, ไมด์วิวิน

ชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกัน Related ethnic groups
แอสซิโบอินี, สโตนนี่ (นาโกด้า), และชาวซูอื่นๆ

Sioux (pronounced SUE) ชนเผ่าซู (อ่านออกเสียงว่า ซู) บางคนเรียก ซีอูร์ เป็นชนเผ่าดั้งเดิมของอเมริกันและเป็นชนชาติแรก ซึ่งหมายรวมไปถึงชนเผ่าต่างๆที่มีเชื้อสายเผ่าพันธุ์เกี่ยวข้องกัน และมีภาษาท้องถิ่นเหมือนกัน ชนเผ่าซูประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ๆที่แบ่งโดย ภาษาท้องถิ่นและวัฒนธรรม
– อิสานติ (Isanti) แปลว่า มีด เป็นชื่อจากทะเลสาบในรัฐมินนิโซต้า) อยู่อาศัยทางด้านตะวันออกสุดของรัฐมินนิโซต้า และทางตอนเหนือของรัฐ ไอโอว่า และมักจะหมายถึงหรือ ซานตี หรือ ดาโกต้าตะวันออก
– อิฮางโทวาน – อิฮางโทวานา (Ihanktowan-Ihanktowana) แปลว่า หมู่บ้านที่ปลายสุด และ หมู่บ้านเล็กๆที่ปลายสุด อยู่กันในแถบแม่น้ำ มินนิโซต้า พวกเขาถูกเรียกว่าเป็น กลุ่มกลางของชนเผ่าซู และมักจะถูกเรียกหรือหมายถึงว่า แยงตั้น (Yankton) หรือ ดาโกต้าตะวันตก (Western Dakota)
– ทีตั้น หรือ ทีตั้นวาน (Teton หรือ Tetonwan) แปลว่า ผู้อาศัยในทุ่งหญ้า ชนเผ่าซู ที่อยู่อาศัยทางตะวันตกสุด เป็นที่รู้จักกันจากการล่าสัตว์และการรบ และมักจะถูกเรียกว่า ลาโกต้า (Lakota)
ในปัจจุบัน ชนเผ่าซู ยังคงอยู่และแบ่งเป็นหลายเผ่ากระจายข้ามไปในหลายเขตสงวนของรัฐ ทั้งใน ดาโกต้า, มินนิโซต้า, เนบราสก้า, และยังใน มานิโทบา และ ทางตะวันตกของ ซาสคัทชีวาน ในแคนาดา

โอเชติ ซาโควิ (Oceti Sakowin)
ประวัติศาสตร์ของเผ่าซู อ้างอิงถึง ชนชาติซูที่ยิ่งใหญ่ว่า โอเชติ ซาโควิ แปลว่า เจ็ดสภาแห่งไฟ แต่ละดวงไฟเป็นเครื่องหมายของ โอแยต (ผู้คนหรือชนชาติ) เจ็ดชนชาติประกอบด้วย ดีวาคานตัน (Mdewakanton), วาปีโทวาน (Wahpetowan, Wahpeton), วาปีคูตี (Wahpekute), ซิสซีโทวาน (Sissetowan, Sisteson), อิฮานโทวาน หรือ แยงตัน (Ihantowan, Yankton), อิฮานโทวานา หรือ แยงโทนาอิ (Ihanktowana, Yanktonai) และ ทีตัน หรือ ลาโกต้า (Teton, Lakota)
เจ็ดสภาแห่งไฟ จะรวมตัวกันทุกๆฤดูร้อนเพื่อพบปะหารือกัน จัดลำดับเครือญาติชาติตระกูล ตัดสินเรื่องราวของชนเผ่าและร่วมกันเต้น ซันแดนซ์ (Sun Dance) การเต้นรำเพื่อบูชาและขอบคุณดวงอาทิตย์ เจ็ดสภาจะคัดเลือกผู้นำ 4 คน ที่เรียกกันว่า วิคาซา ยาทาพิคคา (Wacasa Yatapicka) จากผู้นำของแต่ละชนชาติ และหนึงในสี่จะเป็นผู้นำสูงสุด อย่างไรก็ตาม การชุมนุมประจำปีหมายถึงส่วนใหญ่ของตัวแทนเผ่าซึ่งปกติดูแลโดยผู้นำของแต่ละชนชาติ การชุมนุมครั้งสุดท้ายของเจ็ดชนชาติมีขึ้นในปี ค.ศ. 1850 ปัจจุบัน ทีตัน, อิสานติ หรือ อิฮานโทวาน เป็นที่รู้จักหรือเรียกกันว่าเป็นเผ่า ลาโกต้า, ดาโกต้าตะวันออก หรือ ดาโกต้าตะวันตก ความหมายของทั้งสามชื่อล้วนหมายถึง เพื่อน หรือ กลุ่มเดียวกัน การใช้คำ ลาโกต้าหรือดาโกต้า อาจจะหมายถึงกลุ่มชนที่ผูกพันกับ ชนชาติซูที่ยิ่งใหญ่

การปกครองของชนเผ่า
ความเป็นมาของการปกครองตั้งอยู่บนการมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคล และการร่วมมือกันของหลายๆเผ่าที่รักษาไว้ซึ่งวิถีการดำรงชีพ การเลือกผู้นำขึ้นกับความอาวุโสและสูงศักดิ์ และผลงานของความกล้าหาญ, ความทรหด, ความเอื้อเฟื้อ และ สติปัญญา
ผู้นำจะเป็นสมาชิกของ นาคา โอมินิเซีย (Naca Ominicia) ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจในการรบของชนเผ่า, ย้ายที่ตั้งแคมป์ รวมถึงการเข้าทำสงครามหรือการเจรจาสันติกับพวกและญาติพี่น้อง หรือกลุ่มอื่นๆ สังคมเหมือนกับสมาคม ผู้ชายเข้าร่วมเพื่อยกระดับตนในเผ่า สังคมแบบนี้มี 2 แบบคือ อะคิซิต้า (Akicita) สำหรับชายหนุ่ม และ นาคา (Naca) สำหรับผู้สูงวัยกว่าหรือผู้ที่จะได้รับการยกให้เป็นผู้นำ
อะคิซิต้า (แปลว่า นักรบ) เป็นสังคมที่ช่วยกันฝึกฝน นักรบ นักล่าสัตว์ และเป็นตำรวจของชุมชน มีการแบ่งย่อยสังคม อะคิซิต้า ออกไปอีก เช่น คิทฟอกซ์, สตรองฮาร์ท, เอลค์ และอีกมากมาย คล้ายๆหมู่ของลูกเสือ ผู้นำในสังคม นาคา ขึ้นกับ นาคา โอมินิเซีย ซึ่งเป็นผู้นำของเผ่าที่อาวุโส เป็นผู้คัดเลือกผู้ชาย 7-10 คนจากแต่ละกลุ่ม เป็น วิคาซา อิตันแคน (หัวหน้าเผ่า) แต่ละหัวหน้าเผ่าเป็นล่ามและปฏิบัติตามการตัดสินใจของ นาคา
วิคาซา อิตันแคน จะเลือก ผู้สวมเสื้อเชิ้ต 2 – 4 คน เป็นผู้ออกเสียงในสังคม ซึ่งเป็นผู้สร้างความปรองดองจากการทะเลาะเบาะแว้งของแต่ละครอบครัวหรือกับชนชาติอื่นๆ ผู้สวมเสื้อเชิ๊ตเป็นชายหนุ่มจากครอบครัวที่อ้างจากกรรมพันธุ์ของผู้นำ อย่างไรก็ตาม ชายที่สายญาติดูไม่ชัดเจนแต่มีความสามารถในการเป็นผู้นำก็จะได้รับความเคารพและยอมรับคัดเลือก เครซี่ฮอร์ส (Crazy Horse) เป็นหนึ่งในตัวอย่างของ ผู้สวมเสื้อเชิ๊ตที่สืบทอดทางสายเลือด
วาคินคูซ่า (ผู้ถือกล้องยา) เป็นตำแหน่งรองจาก ผู้สวมเสื้อเชิ๊ต เป็นผู้ดูแลพิธีการทางสันติ, เลือกที่ตั้งแค้มป์ และเป็นผู้จัดการ อะคิซิต้า ในการล่าควาย

673-02

วาคทาเกลิ (Wahktageli) นักรบที่กล้าหาญ, หัวหน้าเผ่า แยงตั้น ซู (ภาพโดย Karl Bodmer)

673-03

ภาพงานพิธีศพหัวหน้าเผ่าซู (ภาพโดย Karl Bodmer)

673-04

การแข่งม้าของเผ่าซู (ภาพโดย Karl Bodmer)

ที่มาของชื่อ ซู
ชื่อ ซู เป็นชื่อที่ตัดทอนลงมาจาก นาดูซู ที่ยืมคำภาษาฝรั่งเศสคานาเดี้ยน Nadoüessioüak จากต้นภาษา Odawa Exonym: naadowesiwag ซู Jean Nicolet นำมาใช้ครั้งแรกในปี คศ. 1640 โปรโต-อัลโกเควียน จาก นาโตวี วา หมายถึง ชาวอิโรเควียน ทางเหนือ ที่บรรดาลูกสาวของเขาใช้คำเป็นภาษาที่หมายถึง งูหางกระดิ่งตัวเล็กๆ (มาสซาเซากา, ซิสทรูรัส) ข้อความหรือคำเหล่านี้ ถูกแปลและนำมาใช้โดยบางคน ซึงพวก ออตตาวา ยืมมาใช้เป็นคำหยาบ อย่างไรก็ตาม การใช้คำของ โปรโต-อัลกอลเควียน เหมือนอย่างที่สุดกับการใช้คำของ อา-โทวี (แปลว่า พูดภาษาอื่นอย่างง่ายๆ ซึงต่อมาได้ขยายตวามในหลายๆคำของภาษา อัลกอนเควียน ที่กล่าวถึง มาสซาเซากา ดังนั้น ในทางตรงกันข้ามของการอธิบาย คำเดิมของ โอดาวาคือ นาโดเวซิแวก ไม่ได้หมายถึง ชาวซูกับงู ซึ่งไม่เป็นการยืนยัน แม้ว่าจะมีการใช้มานับทศวรรษ ที่ใช้คำแบบนี้ในความหมายตรงกันข้ามกับเผ่าที่เกี่ยวข้องกัน นี่เป็นเหตุให้หลายเผ่าเลิกใช้คำหรือภาษาแบบนี้ไปเอง
หลายเผ่าได้บัญญัติคำที่ใช้เรียกชนเผ่าดั้งเดิม อย่างเช่น โรสบั๊ด ซู เดิมเป็นที่รู้จักกันว่าคือเผ่า ซิคานกู โอยาติ และ เผ่าโอกาลา มักจะใช้ชื่อ โอกาลา ลาโกต้า โอยาติ มากกว่าใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า โอกาลา ซู ไทรบ์ (Ogala Sioux Tribe) หรือ OST (คำภาษาอังกฤษของ โอกาลลาลา ถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสม)

ภาษาศาสตร์
ข้อย่อย ภาษา ซู และ ลาโกต้า (Siouan languages and Lakota language)
ในยุคต่อมาของภาษาได้แบ่งเป็น 3 ส่วนจากสาขาของ ชนเผ่าดาโกต้า ที่มาจากครอบครัว ซู ซึ่งระบุ ลาโกต้า ดาโกต้า และ นาโกต้า ว่าเป็นภาษาท้องถิ่นของรากภาษา ซึ่ง ลาโกต้า คือ ทีตั้น, ดาโกต้า คือ แซนที และ แยงตั้น นาโกต้าคือ แยงโทนาอิ และ แอสซินิโบอินี การแย่งประเภททำโดยการเลือกส่วนใหญ่ทีสุดของแต่ละกลุ่ม ที่ประกอบด้วยการออกเสียง Dakhóta-Lakhóta-Nakhóta ซึ่งความหมายดังที่กล่าวไว้แล้วนั้น ทั้งหมดพูดกันได้อย่างเข้าใจตามสำเนียงของแต่ละชนเผ่า อย่างไรก็ตาม ผลในการศึกษาค้นคว้าเมื่อไม่นานมานี้ได้กำหนดว่า แอสซินิโบอินี และ สโตนนี ได้มีภาษาที่แยกแตกไปคือ ซู เป็นภาษาที่ 3 และมีภาษาท้องถิ่นย่อยไปอีก 3 ภาษาตามของแต่ละเผ่าคือ ทีตัน, แซนตี-ซิสซีตัน, แยงตัน-แยงโทนาอิ และมีข้อสนับสนุนเพิ่มว่า แยงตัน-แยงโทนาอิ ไม่เคยใช้ภาษาที่ออกเสียงแบบ นาโกต้า แต่มักจะออกเสียงแบบ แซนที (เช่น ดาโกต้า) (แอสซินีโบอินี และสโตนนีใช้การออกเสียง นาโกต้า หรือ นาโกด้า)
คำเรียกว่า ดาโกต้า ถูกใช้โดยนักมนุษยวิทยา และหน่วยงานด้านการปกครองของรัฐบาล ซึ่งหมายถึง ชนเผ่า ซู ทั้งหมดและให้มืชื่อเรียก ทีตั้น ดาโกต้า, แซนที ดาโกต้า เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะความผิดพลาดของการแปลภาษาจากถ้อยคำของ ออตตาว่า ที่แปลคำว่า ซู ว่าแปลว่า งู

การแบ่งทางภูมิศาสตร์แนวใหม่
การคงอยู่ของเผ่าซู ที่ถึงแม้จะถูกแยกกระจัดกระจายไปตามเขตอนุรักษ์หรือเขตปกครองพิเศษต่างๆใน ดาโกต้า, มินนิโซต้า, เนบราสก้า, เซ้าท์ คาโรไลน่า และใน มานิโบต้า และ เซ้าท์ ซาคัทเชวาน ใน แคนาดา
ในบันทึกยุคแรกของยุโรป เผ่าซู อยู่ใน มินนิโซต้า, ไอโอว่า และ วิสคอนซิน นอกจากนี้ หลังจากเริ่มมีการใช้ม้า เผ่าซูก็เป็นผู้ครองดินแดนที่สุดจะกว้างใหญ่ จากที่ปัจจุบันของแคนาดาไปถึงแม่น้ำ แพลต, จากมินนิโซต้าไปจนถึง แม่น้ำเยลโล่วสโตน รวมไปถึง พาวเดอร์ริเวอร์

อิซานติ (ซานตี หรือ ดาโกต้า)
อิซานติ ย้านถิ่นไปเหนือและตะวันตกจากทางใต้และตะวันออก เข้าสู่ โอไฮโอ จากนั้นก็เข้าสู่ มินนิโซต้า บ้างก็มาจาก แม่น้ำ ซานตี และทะเลสาบ มาเรียน ในเขต เซ้าท์แคโรไลน่า ซึ่งเอาชื่อถิ่นที่ตั้งเดิมมาใช้ และยังมีการค้นพบอดีตและร่องรอยได้ตลอดทางบางส่วนของ แนวเขื่อนของแม่น้ำที่ไหลมาจากทะเลสาบ มาเรียน ในอดีต พวกเขาเป็นชาวป่าที่เจริญรุ่งเรืองกับการล่าสัตว์ จับปลา และอยู่รอดด้วยการเพาะปลูก การอพยพของ อะนิชินาบี/ชิปปีวา(โอจิบวา) จากตะวันออกในศตวรรษที่ 17 และ 18 จากการรุนรานของผรั่งเศสและอังกฤษ ผลักดันให้ ดาโกต้า มีเพิ่มมากขึ้นใน มินิโซต้า และทางใต้ลงไป ทำให้เกิดชื่อเรียก “เขตแดน ดาโกต้า” (Dakota Territory) ไปจนถึงด้านตะวันตกสุดของแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ เรื่อยไปจนถึงต้นแม่น้ำสายนี้

อิฮางโทวัน – อิฮางโทวันนา (แยงตั้น – แยงโทนาอิ)
(อิฮางโทวัน แปลว่า หมู่บ้านสุดท้าย) (อิฮางโทวันนา แปลว่า หมู่บ้านเล็กๆแห่งสุดท้าย)
อิฮางโทวัน – อิฮางโทวานา หรือ แยงตั้น และ แยงโทนาอิ ประกอบด้วยการแบ่งออกเป็นสองกลุ่มจาก เจ็ดสภาแห่งไฟ ข้อมูลน่สอดคล้องกับ นาซูนาทางก้า และ มาโทนอนพา ในปี ค.ศ. 1880 ที่ว่า แยงโทนาอิ แบ่งเป็นสองกลุ่มและเป็นที่รู้จักว่า เป็นกลุ่ม แยงโทนาอิ ทางด้านเหนือ และ แยงโทนาอิ (ฮั้งค์พาทินา) ทางด้านใต้
ในด้านเศรษฐศาสตร์ พวกเขาเกี่ยวพันกับการขุดเจาะหิน พวกแยงตั้น-แยงโทนาอิ ย้ายเข้าไปในตอนเหนือของ มินนิโซต้า ในศตวรรษที่ 18 มีบันทึกถึงกลุ่มชนนี้ในเมือง มานคาโต ในเขต มินนิโซต้า

ทีตั้น (ลาโกต้า)
เผ่าซูมักจะได้ม้าบ่อยๆตลอดศตวรรษที่ 17 บางบันทึกของประวัติศาสตร์อ้างว่า ม้าเข้าสู่ทางใต้ของดาโกต้าในปี คศ. 1720) ทีตั้น(ลาโกต้า) เป็นเผ่าย่อยแยกมาจากเผ่าซู ปกครองดินแดนทางเหนือด้วยกองกำลังทหารม้าเล็กๆของตัวเอง ซูทางตะวันตก ขยายเขตแดนลึกเข้าไปในเทือกเขาร๊อคกี้ (หรือ ฮีซ่า แปลว่า ภูเขาสีขาว) ช่วงหนึ่งลาโกต้า ดำรงชีพด้วยการล่าควาย การปลูกข้าวโพด ค้าขายแลกเปลี่ยนกันกับ ซู ทางตะวันออก และญาติๆทางภาษา คือ มันดัน และ ฮิดาซา ตลอดไปจนถึงเขตมิสซูรี่

การแบ่งชาติพันธุ์
ซู แบ่งเป็น 3 ชาติพันธุ์ ส่วนที่ใหญ่ที่สุดยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยลงอีก และยังแตกสาขาลงไปอีก แยงตั้น-แยงโทนาอิ เป็นกลุ่มที่เล็กที่สุด อาศัยอยู่ในเขตปกครองพิเศษในเซ้าท์ดาโกต้า และบางส่วนทางเหนือของเขตปกครองพิเศษ สแตนดิ้งร็อค (Standing Rock) แซนตี อาศัยอยู่ในเขตปกครองพิเศษ เขตคุ้มครอง และชุมชนใน มินนิโซต้า, เนบราสก้า, เซ้าท์ดาโกต้า, นอร์ทดาโกต้า และ แคนาดา ลาโกต้าส่วนมากเป็นกลุ่มชนทางตะวันตกสามกลุ่ม อาศัยในดินแดนทั้ง นอร์ทและเซ้าท์ดาโกต้า ปัจจุบัน ชนเผ่าซูจำนวนมาก ยังดำรงอยู่นอกเขตปกครองพิเศษ

673-05

ชุดของผู้หญิงเผ่าซู

673-06

เครื่องหลังสำหรับนำพาเด็กเดินทางของเผ่าซู

กลุ่มย่อยของ แซนตี (ดาโกต้า)
– มดีวาคานทันวาน (ชุมชน ทะเลสาบแห่งวิญญาณ)
บุคคลสำคัญ : ทาโอยาเทดูต้า
– ซิซิทันวาน (อาจจะหมายถึง ชุมชนที่จับปลา)
– วาพีคูที (ปลายหางของธนู)
บุคคลสำคัญ : อิงพาดูต้า
– วาพีทันวาน (ชุมชนแห่งใบไม้)
กลุ่มย่อยของ แยงตั้น-แยงโทนาอิ (ดาโกต้าตะวันตก)
– อิฮังทันวาน (แยงตั้น {ชุมชนที่ปลายสุด})
– อิฮังทันวานา (แยงโทรนาอิ {ชุมชนเล็กๆที่ปลายสุด})
บุคคลสำคัญ : วานาทา, หัวหน้าเผ่า วอร์อีเกิ้ล
กลุ่มย่อยที่แยกลงไปอีก : สโตน (นาโกด้า)

ทิตันวาน/ ทีตั้น (ลาโกต้า) อาจหมายถึง ผู้อาศัยในทุ่งหญ้า
– โอกลาลา (อาจหมายถึง ผู้ที่แยกตัวไปเอง)
บุคคลสำคัญ : เครซี่ฮอร์ส, เรดคลาวด์ แบล็คเอลค์ และบิลลี่ มิลส์ (โอลิมเปียน)
– ฮังปาปา (แปลว่า ผู้พักแรมที่หน้าประตู หรือ ผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย
บุคคลสำคัญ : ซิตติ้งบูล
– สิฮาซาปา (แบล๊คฟูตแห่งซู {คนละอันกับ แบล๊คฟีต ของ อัลกอนเควียน})
– มินนิคอนจู (ผู้เพาะปลูกริมลำธาร)
บุคคลสำคัญ : โลน ฮอร์น, ทัช เดอะ คลาวด์
– สิคันกู (ผู้มีรอยไหม้ที่ต้นขา)
– อิทาซิปาโคล่า (ผู้ไม่มีคันธนู)
– อูฮีนอนปา (ผู้มีกาน้ำสองใบ)

เขตคุ้มครอง และ ชนชาติแรก
วันนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่งของชนเผ่าซู ใช้ชีวิตนอกเขตคุ้มครองหรือเขตปกครองพิเศษ และยังเป็นสมาชิกของชาวเผ่าซูแห่งสหรัฐอเมริกา มากถึง 1 ใน 4 ในแคนาดา รัฐบาลแคนาดา ยอมรับชนเผ่าเป็น ชนชาติแรก พื้นที่ที่ถือครองโดยชนชาติแรกนี้ เรียกว่า เขตคุ้มครองหรือเขตปกครองพิเศษ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>