เมื่อสงครามกลางเมืองยุติ

นี่อีกคนหนึ่ง คือ Two Feathers

LBH12-1

อีกาใหญ่ (Big Crow) กับปืนสปริงฟิลด์ที่ยึดมาได้

LBH11-1

กำเนิดของเจ้าสปริงฟิลด์ M1873 ย้อนหลังไปเมื่อสงครามกลางเมืองยุติ ขณะนั้นกรม สรรพาวุธพบว่ามีปืนเล็กยาวประจำการแบบสปริงฟิลด์เก่าซึ่งบรรจุกระสุนทางปากลำกล้องและจุดชะนวนด้วยระบบแก็ปโบร่ำโบราณอยู่นับล้านกระบอก ซึ่งปืนระบบนี้พ้นสมัยไปแล้วเนื่องจากได้มีผู้นำปืนบรรจุท้าย ใช้กระสุนปลอกโลหะซึ่งดีกว่ามาแทนที่ บางกระบอกก็ยิงซ้ำได้ เช่น ปืนสเปนเซอร์และเฮนรี่ แต่หลังสงครามย่อมเป็นยุคประหยัดแทนที่จะหาซื้อปืนในท้องตลาดที่มีคุณภาพดีกว่ามาใช้ ทางกองทัพกำหนดว่าให้หาระบบที่สามารถดัดแปลงเอาปืนแก็ปเก่าๆนี้มายิงกระสุนสมัยใหม่และบรรจุท้ายได้ ผู้ที่รับอาสาคือ นายเออร์สไกน์ อัลลิน (Erskine Allin) ซึ่งเป็นหัวหน้าช่างแสง  โรงงานสรรพาวุธทหารที่สปริงฟิลด์  วิธีการง่ายที่ประหยัดที่สุดก็คือผ่าท้ายลำกล้องบริเวณรังเพลิงทิ้งแล้วทำแท่งเหล็กมาวางเป็นตัวบล็อคท้ายรังเพลิงและมีกระเดื่องช่วยล็อคกับลำกล้องสามารถสวิงปิดเปิดขึ้นได้ เหมือนบานพับประตู  ในตัวแท่งบล็อคนี้จะมีเข็มแทงชะนวนซ่อนอยู่ในมุมที่นกสับเดิมของปืนแก็ปตีลงไปพอดีและช่วยล็อคท้ายรังเพลิงด้วยอีกแรงหนึ่ง อาการสวิงเปิดแท่งบล็อครังเพลิงนี้จะช่วยคัดปลอกออกมาด้วยเลยเป็นสมญานามว่าประตูกับดัก (Trapdoor) ซึ่งต่อไปนี้ผมจะขอเรียกมันตามสากลว่าเจ้า แทร็ปดอร์สปริงฟิลด์ มันอยู่ในสภาพปืนทดสอบต่อไปอีกหลายปี เพราะแรกๆพบว่าระบบการล็อครังเพลิงไม่แข็งแรงนัก  ต่อมาในปี ค.ศ. 1866 ทบ. ก็ลดขนาดกระสุนมาตราฐานลงจาก .58 เป็น .50 หรือ .50-70 ที่ยังมีใช้จนถึงปัจจุบันนี้และในปี ค.ศ. 1871 ก็ตกลงขนาดกระสุนลงเป็น .45-70 เป็นอันว่าแผนประหยัดของ ทบ. ไม่เป็นผลแล้วเพราะถึงจะใช้ระบบของนายอัลลิน ปืนรุ่นเก่าก็ต้องเปลี่ยนทั้งลำกล้องอยู่ดี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>