Dances with Wolves: ตำแหน่งแห่งที่ของผู้เล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์

ภาพยนตณ์เรื่อง Dances with Wolves เป็นวิธีการเล่าเรื่องจากความทรงจำวิธีหนึ่ง ของ “คนขาว” ที่มีปฏิสัมพันธ์ กับชนเผ่าพื้นเมือง Sioux ในประเทศอเมริกา

จอห์น เจ ดันบาร์ เป็นทหารของสหรัฐอเมริกาเขาเดินทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก และได้กางเตนท์ นอนอยู่ไม่ไกล จากที่ตั้งของเผ่า Sioux เท่าใดนัก

แรก ๆ ที่ชาวพื้นเมืองอินเดียนแดง เห็น ดันบาร์ พวกเขา อาจมีคติว่า คนขาวคนนี้ไม่ได้มาดี แต่พอเวลาผ่านไป ดันบาร์ ก็เริ่มทำความคุ้นเคยกับ คนเผ่าพื้นเมือง จนได้รับการยอมรับให้ทำกิจกรรมกรรม กับชนเผ่าพื้นเมือง และได้ชื่อ แบบคนพื้นเมือง จนในที่สุด เขาก็ได้รับการยอมรับให้กลายเป็นพวกเดียวกันกับอินเดียนแดงเผ่านั้น

ประเด็นที่น่าสนใจตรงนี้ ก็คือว่า การสร้างความหมาย ความเป็น “พวกเขา” หรือ “พวกเรา” นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ว่า คุณผิวสี อะไร ด้วยดันบาร์เอง ก็ยังได้รับการมองว่า เป็น “พวกเดียวกัน” กับคนพื้นเมือง เมื่อ เขาถูก ทหารอเมริกันที่ตามมาที่หลังกล่าวหาว่าทรยศ

ยิ่งไปกว่านั้น ในเผ่าอินเดียนแดงเผ่านี้ ยังมี หญิงสาว ที่เกิดจากพ่อแม่ผิวขาว ที่ถูกอินเดียนแดงฆ่าตาย และได้รับการเก็บมาเลี้ยงตั้งแต่เด็ก เธอจึงพูดภาษาอินเดียนแดง Sioux และ เข้าใจวัฒนธรรม ของชนเผ่า และมีความภักดีต่อเผ่าแม้ว่า เธอจะมี เลือดเป็นฝรั่งผิวขาว Caucasian ก็ตาม

แม้ว่า ภาพยนตร์เรื่อง Dances with Wolves จะสื่อสาระให้เราเห็นถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับ คนพื้นเมือง ในแง่มุมที่เป็นบวกมากขึ้น และเล่าถึงพฤติกรรมชั่วร้าย ของคนผิวขาวมากขึ้น

แต่กระนั้นก็ดี หลายครั้งหลาย คราว เราจะเห็น ในหลายครั้ง การเล่าเรื่อง ยังให้คุณค่า กับวัฒนธรรมตะวันตก ว่าเหนือกว่า ซึ่งสื่อเป็นนัยว่า คนตะวันตก ยังคงมีหน้าที่ ๆ จะต้อง ไป “ให้การศึกษา” กับ คนเผ่าอื่น ๆ ในโลก เพื่อพัฒนาให้ทันทัดเทียมตน ซึ่งมันยังได้กลิ่น ของความเป็น Eurocentricism คือการยึดแนวคิดแบบยุโรปเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ คนยุโรป อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า คนพื้นเมืองในพื้นที่อื่น

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว
การรับฟังประวัติศาสตร์ ให้รอบด้าน มากยิ่งขึ้น คงไม่ใช่เพียงแค่ต้องฟังเสียงหลาย ๆ เสียง จากหลาย ฝ่าย อย่างเดียว แต่ผู้ฟัง ยังต้องมีความตระหนัก ถืงลักษณาการของการเล่าเรื่องนั้น ว่า ผู้เล่า เขา มองว่าตัวเขาเอง ยืนอยู่ในจุดไหน และผู้ที่ถูกพาดพิงถึง มีตำแหน่งแห่งที่ สูงกว่า เท่าเทียม หรือ ต่ำต้อยกว่าเขา เพียงใด และวิธีการเล่าแบบนี้ มันส่งผลดี/ผลเสีย ต่อผู้เล่าอย่างไรด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>